Ads 468x60px

Saturday, April 27, 2013

จังหวัด กาฬสินธุ์





จังหวัดกาฬสินธุ์
                 หนึ่งในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมีความเจริญทางด้านอารยธรรมอันเก่าแก่ เดิมทีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติละว้า ต่อมาได้มีการอพยพผู้คนจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนบริเวณแก่งสำโรงและลำน้ำปาวนอกจากนั้น กาฬสินธุ์ยังเป็นแหล่งขุดค้นซากไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง มีพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย รวมทั้งงานหัตถกรรมพื้นบ้านต่างๆ ด้วย ทิปส์ท่องเที่ยว การเที่ยวชมเมืองโบราณที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ในหน้าร้อน ควรเตรียมร่ม หรือหมวก และน้ำดื่มไปให้พร้อม เพราะอยู่ในที่โล่ง แดดค่อนข้างแรง การเที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ ไม่ควรเข้าไปใกล้มากนัก เพราะอาจเกิดอันตรายได้




 1. พิพิธภัณฑ์สิรินธร


ซาก ดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2537 พบว่า ภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย โดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัว กองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่ง กระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์ทั้งกินพืช และกินเนื้ออีกอย่างละ 2 ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง ( Phuwiangosaurus sirindhornae ) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก

พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมคือศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิงซากไดโนเสาร์และ สัตว์ร่วมสมัยและนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยวในรูปของ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวปีละกว่า 2 -3 00 , 000 คน มีความเป็นมาและรายละเอียดของการจัดการ ดังนี้ ปี 2521 คณะสำรวจธรณีวิทยา โดยนายวราวุธ สุธีธร พบซากกระดูกไดโนเสาร์ที่เก็บไว้โดย พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ปี พ.ศ. 2537

ปี 2538 เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูกไดโนเสาร์ จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยสร้างอาคารหลุมขุุดค้นเป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากกระดูก รวมทั้งใช้บังร่มเงาแก่นักวิชาการในการขุดแต่งกระดูก
ปี 2539 กรมทรัพยากรธรณีสร้างอาคารวิจัยมีพื้นที่ใช้งาน 375 ตารางเมตร เพื่อเป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัยและเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย



ปี 2542 กรม ทรัพยากรธรณีสร้างอาคารถาวรคลุมหลุมขุดค้น โดยใช้ชื่อว่า “ อาคารพระญาณวิสาลเถร ” ตามชื่อสมณศักดิ์ของท่านเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว



ปี 2544 อาคารพิพิธภัณฑ์สิรินธร ในส่วนแรกได้มีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ



ปี 2547 ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 (ฝ่ายสังคม) ครั้งที่ 36/2546 วันที่ 4 ธันวาคม 2546 มติให้กรมทรัพยากรธรณีใช้เงินงบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างศักยภาพ ในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาอาคารพิพิธภัณฑไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวระยะต้น เพื่อปรับปรุงและตกแต่งภายใน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 รับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ซึ่งได้มีการก่อสร้างตกแต่งภายในจนแล้วเสร็จในปี 2548
ปี 2549 ได้รับงบประมาณ เพื่อสร้างส่วนนิทรรศการ จนได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อต้นปี 2550
ปี 2550 พิพิธภัณฑ์ สิรินธร ได้เปิดทดลองให้บริการตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2550 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด
ขอขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพจาก www.sdm.dmr.go.th/main.htm

2. วัดกลาง

วัดกลาง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับผู้สร้าง และเจ้าอาวาสรูปแรกวัดกลางกาฬสินธุ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๕๕ ตารางวา ลักษณะพื้นที่ของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวจากทิศเหนือจดใต้ เป็นด้านยาว ๑๒๖.๘๓ เมตร จากทิศตะวันออกจดตะวันตก เป็นด้านกว้าง ๙๙ เมตร วัดกลางกาฬสินธุ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๐ เขต วิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยเป็นวัดที่มีเฉพาะที่ตั้งวัดเท่านั้น ไม่มีที่ธรณีสงฆ์หรือที่กัลปนา วัดกลางกาฬสินธุ์ มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนกระทั่งถึงสมัย พระเทพวิสุทธาจารย์ (สุข สุขโณ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ที่ได้มีการพัฒนาวัดทั้งในด้านวัตถุ การศึกษา และการปฏิบัติธรรม มีการปลูกสร้างเสนาสนะอย่างถาวรได้มาตรฐานและถูกต้อง ตามศิลปกรรมไทย เป็นพุทธสถาน แหล่งปฏิบัติศาสนากิจ ที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการยกย่องชมเชยจากกรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนา ตัวอย่างเกียรตินิยมดีเด่น ในปีพ.ศ.๒๕๐๙ และ พ.ศ.๒๕๑๕ ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนาให้เป็น สำนักเรียนดีเด่นในด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งได้เปิดสอน ๓ แผนก คือ
- แผนกบาลี เปิดสอนในระดับเปรียญธรรม ๑ ประโยค ถึง เปรียญธรรม ๕ ประโยค
- แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่นักธรรมตรี ถึงนักธรรมเอก
- แผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดกลางกาฬสินธุ์ ซึ่งเปิดสอนมา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๙ จนถึงปัจจุบัน
พระประธานในพระอุโบสถ
     วัดกลางกาฬสินธุ์ เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจสำคัญต่างๆ ของจังหวัด โดยมีพระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางกาฬสินธุ์มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ -ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๑) ภายในวัดกลางกาฬสินธุ์ ยังประกอบไปด้วยศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และโบราณวัตถุที่สำคัญต่างๆ อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียง และยังเป็นศูนย์รวมแห่งสรรพวิทยาความรู้ ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง
   พระอุโบสถวัดกลางกาฬสินธุ์ พระอารามหลวง มีพระอุโบสถที่งดงามประดับด้วยลวดลายปูนปั้นที่หน้าบัน บานประตู หน้าต่างแกะสลักด้วยไม้เป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านบนภายในพระอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับมหาชาติหรือเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ ทั้ง ๓ ด้าน ส่วนผนังด้านตรงข้ามกับพระพุทธรูปพระประธานเป็นภาพมารผจญ ที่กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ มีประติมากรรมนูนต่ำทั้งภายในและภายนอก ภายในเป็นนิทานพื้นบ้านอีสาน ส่วนภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับผญา คติพื้นบ้านต่างๆ มีคำอธิบายประกอบภาพ ซึ่งการปั้นภาพประติมากรรมนูนต่ำ และคำบรรยายประกอบภาพเหล่านี้เกิดจากความคิด และแรงบันดาลใจของ พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
   นอกจากนี้วัดกลางกาฬสินธุ์ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณสำคัญ คือ พระพุทธรูปองค์ดำ พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (หลวงพ่อซุ่มเย็น) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวกาฬสินธุ์เชื่อว่าเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่จะอัญเชิญออกมาแห่เพื่อขอฝนเสมอ นอกจากนี้ยังมีพระสังข์กัจจายญน์ รอยพระพุทธบาทจำลองสลักจากหินทราย ที่นำมาจากวัดแก่งสำโรงริมฝั่งลำน้ำปาว โดยพระยา ไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕
 ขอขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพจาก http://www.dhammathai.org

3 .วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ)

sribunrueng 001 วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ)
       วัดเหนือ นอกจากจะเป็นวัดสำคัญเก่าแก่ และมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญหลายชิ้นภายในวัดแล้ว ยังเป็นวัดที่มีความสงบร่มรื่น มีสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้วเป็นอย่างดี เช่น พระวิหาร พระอุโบสถ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ภายในบริวณวัด เหมาะสำหรับผู้ต้องการศึกษาทางด้านศิลปกรรมที่หาชมได้ยาก
      วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ) อยู่ถัดจากวัดกลางเป็นวัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมือง ซึ่งมีเสมาจำหลักเมืองฟ้าแดดสงยางจำนวนหนึ่งเก็บรักษาไว้ โดยปักไว้รอบพระอุโบสถ หลักเสมาจำหลักที่สวยงามคือ หลักที่จำหลักเป็นรูปเทวดาเหาะอยู่เหนือปราสาททำเป็นซุ้มเรือนแก้ว (ศิลปะแบบทวาราวดี) ซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ล่างสุดมีรูปกษัตริย์ พระมเหสี และพระโอรส



 



วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ) เป็นวัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีเสมาจำหลักเมืองฟ้าแดดสูงยางจำนวนหนึ่งเก็บรักษาไว้ โดยปักไว้รอบพระอุโบสถ หลักเสมาจำหลัก ที่สวยงามคือ หลักที่จำหลักเป็นรูปเทวดาเหาะอยู่เหนือปราสาททำเป็นซุ้มเรือนแก้ว (ศิลปแบบทวารวดี) ซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ล่างสุดมีรูปกษัตริย์ พระมเหสี และพระโอรส


วัดศรีบุญเรือง หรือ วัดเหนือ จ.กาฬสินธุ์


No comments:

Post a Comment

คำค้น

Asiatique the Riverfront (1) Cicada (1) Cicada Market (1) Dreamworld (1) Dreamworld ปทุมธานี (1) Mansion 7 (1) Outlet (1) Scenery Resort (1) seeing 2008 (1) Terminal 21 (1) กรุงเทพมหานคร (3) กรุงอโยธยา (1) กล้วยไม้ (1) กาญจนบุรี (2) โกรกอีดก (1) เขาจีนแล (1) เขาช้างเผือก (1) เขาพลอง (1) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (1) แคมป์ปิ้ง (1) แคมป์ปิ้งและผจญภัย (1) โคกขาม (1) งานผ่านเน็ต (1) เงินออนไลน์ (1) จังหวัดกาฬสินธุ์ เที่ยวกาฬสินธุ์ (1) จังหวัดศรีสะเกษ (1) เจ็ดคต (1) ฉะเชิงเทรา (2) ชัยนาท (2) ไช้เวลาว่างหาเงิน (1) เซรามิค (1) ดอนหอยหลอด (1) แดนตุ๊กตา (1) ตลาดคลองสวน (1) ตลาดจั๊กจั่น (1) ตลาดเทศบาล (1) ตลาดเทศบาล สิงห์บุรี (1) ตลาดน้ำ (2) ตลาดน้ำคลองสระบัว (1) ตลาดน้ำมหานคร (1) ตลาดน้ำลำพญา (1) ตลาดน้ำเหล่าตั๊กลั๊ก (1) ตลาดน้ำอโยธยา (1) ตลาดบางนกแขวก (1) ตลาดบ้านแป้ง (1) ตลาดบ้านใหม่ (1) ตลาดมหาชัย (1) ตลาดเศียรช้าง (1) ถ้ำเทวาพิทักษ์ (1) ถ้ำพระยานคร (1) ทุ่งดอกทานตะวัน (1) ทุ่งสามร้อยยอด (1) เทา (1) เที่ยว นครปฐม (2) เที่ยวกรุงเทพ (6) เที่ยวกาญจนบุรี (2) เที่ยวชัยนาท (1) เที่ยวประจวบ (1) เที่ยวเพชนบุรี (1) เที่ยวฟาร์มจรเข้ (1) เที่ยวศรีสะเกษ (1) เที่ยวอยุธยา (4) เที่ยวอ่างทอง (1) นครปฐม (2) นนทบุรี (2) น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น (1) บ้านกรูด (1) บ้านหอมเทียน (1) บึงฉวาก (1) โบสถ์แม่พระบังเกิด (1) ปทุมธานี (2) ประจวบคีรีขันธ์ (3) พระนครศรีอยุธยา (5) พระปฐมเจดีย์ (1) พระพุทธสวมแว่นกันแดด (1) พระราชวังบางปะอิน (1) พิพิธภัณฑ์ (1) พิพิธภัณฑ์โชคชัย (1) พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี (1) พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น (1) พิพิธภัณฑ์หินแปลก (1) เพชรบุรี (3) ฟาร์มจระเข้สามพราน (1) ฟาร์มตัวอย่าง (1) ฟาร์มนก (1) เมืองโบราณ (1) ราชบุรี (4) รายได้เสริม (1) ลพบุรี (2) ลาดกระบัง (1) ลานแสดงช้าง (1) ลาบเทา (1) เล่นเน็ตได้เงิน (1) แลเพนียด (1) วนอุทยานปราณบุรี (1) วังช้างอยุธยา (1) วัดเกษไชโยวรวิหาร (1) วัดเขาดีสลัก (1) วัดนิเวศ (1) วัดในจังหวัดอยุธยา (1) วัดปากคลองมะขามเฒ่า (1) วัดพิกุลทอง (1) วัดโพธิ์ (1) วัดม่วง อ่างทอง (1) วัดเล่งเน่ยยี่ (1) วัดสี่ร้อย (1) ศรีเกษ (1) ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง (1) สมุทรปราการ (2) สมุทรสงคราม (3) สมุทรสาคร (4) สระบุรี (3) สวนนกชัยนาท (1) สวนปาล์มฟาร์มนก (1) สามพราน (1) สิงห์บุรี (2) สุนทรีแลนด์ (1) สุพรรณบุรี (3) สุวรรณภูมิ (1) หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี (1) หอศิลปวัฒนธรรม (1) หาดเจ้าสำราญ (1) หาดชะอำ (1) หาดแหลมศาลา (1) แหล่งท่องเที่ยว ประจวบ (3) อยุธยาOutlet (1) อ่างทอง (1) อาหารทะเล (1) อิมแพค เมืองทองธานี (1) อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (1) แอร์ออร์คิด (1)
 

Blogger news

Blogroll

About